ฐานการเรียนรู้
กิจกรรม เกษตรทฤษฎีใหม่


วัตถุประสงค์กิจกรรมการเรียนรู้
๑ เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ศาสตร์ท้องถิ่น ศาสตร์สากลและฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๒ เพื่อวิเคราะห์หลักความสอดคล้องของหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการกับฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๓ เพื่อถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๔ เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้จากฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
วัตถุประสงค์ของฐาน
๑ เพื่อได้ทราบทฤษฎีใหม่ขั้นต้นโดยศึกษาการแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน30: 30: 30: 10 ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้า เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้า และพืชน้า ต่าง ๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้
เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ
๒ เพื่อให้ศึกษาการใช้ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ฉะนั้นการต่อยอดสู่ เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกินเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดา เนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตาม
๓ เพื่อให้ศึกษาการใช้ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สองเมื่อนักเรียนเข้าใจองค์ความรู้ก็นำผลไปขยายต่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่มหรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการ
๔ เพื่อให้ศึกษาการใช้ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว นักเรียนสามารถบอกต่อเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ถอดบทเรียนกิจกรรมการเรียนรู้
เกษตรทฤษฎีใหม่
กิจกรรมการเรียนรู้
๑ ศึกษาความรู้จากเอกสาร ใบความรู้ของฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๒ วิทยากรให้ความรู้ (ครูประจำฐาน และนักเรียนแกนนำ )
๓ ศึกษาจากป้ายนิเทศในฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๔ ผู้ที่มาศึกษาร่วมซักถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๕ ร่วมกันระดมความคิด แล้วสรุปสาระความรู้ลงในใบงานของตนเอง
๖ ผู้มาศึกษา อภิปราย สนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
๗ ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ 3 ศาสตร์ กับฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
๘ ร่วมกันสรุปและบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึก
๙ นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และขยายผลต่อไป
ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
๑ ศาสตร์พระราชา
การดำเนินการถอดรหัสบทเรียน 3 ห่วง 2เงื่อน 4มิติ
๒ ศาสตร์ท้องถิ่น
- การแปรรูปผลผลิตแบบเบื้องต้น เช่น เลี้ยงปลาดุกนา ประดุกมาทำปลาร้าปลาดุก
๓ ศาสตร์สากล
- การคำนวณราคาซื้อ-ขาย ของผลผลิตจากการทดลองทำเกษตรทฤษฎีใหม่
- การรวมกลุ่มในชุมชนแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ราคาสิ้นค้าเกษตร
- การร่วมกันคิดวัสดุอุปกรณ์ แทนแรงงาน
๔. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน

กิจกรรม เกษตรทฤษฎีใหม่





